วางแผนทางการเงินอย่างไร ให้มีสภาพคล่อง

การสร้างวินัยทางการเงินให้มีเสถียรภาพได้นั้น จะทำให้เราเกิดสภาพคล่องทางการเงินและทำให้เราไม่เกิดปัญหาเงินขาดมือหรือเงินไม่พอใช้ แต่การที่เราจะมีวินัยทางการเงินที่ดีได้นั้น ก็ต้องฝึกนิสัยให้เป็นนักออมเงิน หากเราออมเงินได้เป็นประจำแล้ว ก็จะทำให้เราออมเงินได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ และการออมเงินเป็นหนึ่งในวิธีการวางแผนทางการเงิน ที่จะทำให้เราไม่ประสบกับปัญหาการเงินในอนาคต

ซึ่งการ วางแผนทางการเงิน ที่ดี จะทำให้เรามีหลักประกันทางการเงินที่มั่นคง ยิ่งในสภาวะเศรษฐกิจในยุคปัจจุบันที่ทำให้เรายิ่งต้องระมัดระวังในการใช้เงินให้มากขึ้น รวมถึงการวางแผนการเงินจะช่วยให้เรารับมือกับความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจได้ การวางแผนทางการเงินให้มีสภาพคล่องนอกไปจากออมเงินแล้วนั้นจะมีอะไรบ้าง และเราสามารถทำได้อย่างไร เรามีมาฝากกัน

ขอบคุณบทความดี ๆ จาก

วิธีวางแผนทางการเงิน

  1. สร้างวินัยการออมเงิน แบ่งรายได้ที่ได้รับมาบางส่วนให้เป็นเงินออม เพราะวินัยในการออมจะช่วยให้คุณมีโอกาสสำเร็จทางการเงิน โดยอาจจะใช้วิธีออมอัตโนมัติ เช่น หักเงินจากบัญชีเงินฝากเพื่อไปออมทุกๆ เดือน ก็จะช่วยให้คุณมีเงินเก็บและมีสภาพการเงินที่มีเสถียรภาพขึ้น
  1. ทำบัญชีรายรับรายจ่ายจะช่วยให้เราตรวจสอบการใช้จ่ายของตนเองได้ ว่าเราได้ใช้เงินไปกับอะไรบ้างในแต่ละเดือน ซึ่งเราควรกำหนดงบประมาณสำหรับรายจ่ายต่างๆ เอาไว้ เช่น ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ค่าอาหาร ของใช้ และอื่นๆ การทำบัญชีเหล่านี้ก็จะช่วยให้เราวางแผนการใช้เงินของเดือนต่อ ๆ ไปได้
  1. ไม่สร้างหนี้ เพราะหนึ่งในปัญหาการเงินของคนหลาย ๆ คน จนทำให้ขาดสภาพคล่องทางการเงินนั้น ก็คือ การเป็นหนี้บัตรเครดิต ดังนั้น หากเราอยากได้อะไร เราควรเก็บออมเงินเพื่อซื้อของสิ่งนั้น ไม่ควรเอาเงินในอนาคตมาใช้ เพราะอาจจะทำให้เราติดนิสัยใช้เงินเกินตัวและสร้างหนี้โดยไม่จำเป็น ซึ่งการใช้บัตรเครดิตให้เกิดประโยชน์ ควรใช้ในแง่ของการอำนวยความสะดวกในการจับจ่ายใช้สอยเท่านั้น
  1. แบ่งเงินไปลงทุน นอกจากการจะมีวินัยการออมที่ดีแล้วนั้น การแบ่งเงินบางส่วนไปลงทุนบ้างเพื่อให้เงินงอกเงยขึ้นก็เป็นการวางแผนทางการเงินที่ดี เช่น การลงทุนกับกองทุนต่าง ๆ แต่ควรศึกษาข้อมูลแต่ละกองทุนให้ดีเสียก่อน เพราะการลงทุนจะให้ผลตอบแทนที่ดีในอนาคต และทำให้การเงินเราเกิดสภาพคล่องได้ แต่ก็มีความเสี่ยงมากเช่นกัน

5.มีเงินสำรองฉุกเฉิน การมีเงินทุนสำรองเอาไว้ใช้ในยามฉุกเฉินอย่างน้อย3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน จะทำให้เรามีสภาพคล่องสูง แต่ต้องเป็นเงินเย็นที่พร้อมถอนมาใช้จ่ายได้ทันที รวมถึงต้องมีความเสี่ยงต่ำด้วยซึ่งเวลาที่เรามีวิกฤตปัญหาทางการเงิน เช่น ถูกออกจากงานกะทันหัน ธุรกิจจำเป็นต้องปิดตัวลง หรืออื่น ๆ ที่ทำให้รายได้หยุดลงทันที หากเราไม่มีเงินสำรองอย่างน้อย 6  เดือนก็เท่ากับว่าเราอาจจะต้องเอาสินทรัพย์อื่นไปขายเพื่อให้ได้เงินมาใช้จ่าย ดังนั้นเพื่อไม่เป็นการประมาทจึงควรให้มีเงินส่วนนี้อย่างเพียงพอ

  1. จัดการหนี้สินให้เหมาะสม หากเรามีหนี้สินอยู่ไม่ว่าจะเป็นหนี้สินบ้าน รถยนต์ หรือบัตรเครดิต ก็ควรที่จะวิธีการจัดการกับการชำระหนี้ให้เหมาะสม โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิตที่มีดอกเบี้ยสูงมากประมาณ 18-20% ต่อปี หากเราชำระขั้นต่ำตลอด ก็จะทำให้เรามียอดหนี้เพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นไปได้เราควรหาวิธีปิดยอดหนี้ให้หมดเร็วที่สุด เพื่อลดอัตราการเติบโตของดอกเบี้ยที่จะส่งผลต่อยอดหนี้ในอนาคต
  1. ทบทวนแผนการเงินอยู่เป็นประจำขั้นตอนสุดท้ายของการวางแผนทางการเงินก็คือ ทบทวนแผนการเงินเสมอ ๆ เพราะจะทำให้เราสามารถประเมินได้ว่าแผนที่เราวางไว้นั้นประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน และได้ผลตอบแทนตามที่เราคาดหวังหรือเปล่า เพื่อที่จะได้ทบทวนแผนและแก้ไขให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อให้เราบรรลุจุดประสงค์ตามเป้าหมายที่เราวางไว้

การวางแผนทางการเงินไม่ใช่เรื่องยาก หากคุณมีความตั้งใจและมีวินัยที่จะทำได้ตามเป้าหมาย เพื่อให้แผนการเงินของเรานั้นได้ผลจริงทั้งในระยะสั้นและในระยะยาวถ้าเราวางแผนทางการเงินให้ดี เราก็จะประสบความสำเร็จในการออมเงิน และทำให้การเงินของเรามีสภาพคล่องยิ่งขึ้น ช่วยสร้างความมั่นคงและมั่งคั่งให้กับชีวิตเราในอนาคตอีกด้วย

Close